What’s new in Autodesk Revit 2017.1

Autodesk Revit 2017.1 ที่มาพร้อมกับฟังก์ชั่นใหม่ๆ หลายๆ ฟังก์ชั่น และความเสถียรที่ดีขึ้นของซอฟท์แวร์
ทีมงาน VR Digital ของเรานำมา Review ให้ชมกัน โดยมีรายละเอียดของคำสั่งและฟังก์ชั่นใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมา ดังนี้

Revit for architects & platform tools

LED light fixtures content

Autodesk Revit 2017.1.1 ได้มีการเพิ่มเติม Library ขึ้นมา โดยเฉพาะในส่วนของหลอดไฟประเภทอ LED ที่มีการถามกันหลายท่าน พร้อมกับมีการเพิ่มค่าในสว่นของ Photometric Web ของหลอดไฟในแบบ LED นี้มาให้ในลักษณะของ IES ไฟล์…แจ๋วเลย

Sketch on Level

Autodesk Revit 2017.1.1 นั้นมีการแก้ไขปรับปรุงในเรื่องของเส้น Sketch บนระดับ Level ยกตัวอย่างตามภาพ เป็นกรณีของหลังคา ที่ในเวอร์ชั่นก่อนหน้า หากเราสร้างเส้น Sketch ของหลังคาไว้ในระดับใดแล้ว เมื่อหลังคามีการเปลี่ยนระดับไป เส้น Sketch ก็ยังคงวางอยู่บนระดับที่ได้สร้างไว้แต่แรก…แต่ในเวอร์ชั่น 2017.1.1 นี้ เมื่อหลังคามีการเปลี่ยนแปลงระดับไป เส้น Sketch ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงระดับตามไปด้วย เพื่อให้เส้น Sketch ได้อ้างอิงระดับที่ถูกต้องกว่าวิธีการเดิม

Railing type UI usability

Autodesk Revit 2017.1.1 ได้มีการปรับเปลี่ยนการใช้งาน Railing ให้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการแก้ไข Top Rail หรือเปลี่ยนประเภทของ Top Rail ของลูกกรงที่เดิมจะต้องไปเลือกวัตถุเสียก่อน คราวนี้สามารถใช้งานได้โดยตรงจากใน Edit Type ไดอะล็อกบ็อกซ์ รวมถึงมีตัวเลือกในการไม่ใช้ Top Rail ได้อีกด้วย โดยเลือกได้จากพารามิเตอร์ Use Top Rail

High-resolution monitor support

Autodesk Revit 2017.1.1 กับการปรับปรุงการแสดงผลหน้าจอเพื่อให้รอรับจอภาพที่การแสดงผลความสูงเอียดสูงได้ โดยเฉพาะจอ 4K, รวมถึงการปรับค่าการแสดงผลปุ่มและไอคอนต่างๆ ให้ถูกต้อง

 

Import 3d shapes (Rhino/SAT files)

Autodesk Revit 2017.1.1 คราวนี้ สามารถนำเข้าไฟล์จากโปรแกรม Rhino ได้โดยตรงแล้ว รวมถึงการนำเข้า SAT Files เข้ามานั้น ผู้ใช้สามารถทำการกำหนดหมวด (Category) ให้กับวัตถุที่นำเข้ามาได้ด้วย ซึ่งก็จะทำให้สามารถทำรายการ Schedule, การใส่ Dimension และ Tag ได้อีกด้วย หรือแม้กระทั่งการกำหนด Room Bounding ให้กับวัตถุที่นำเพื่อให้ใช้กับคำสั่ง Room ได้ ทำให้ท่านที่ใช้งาน Rhino กับ Autodesk Revit ทำงานสะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาแปลงไฟล์ไปมาอีกแล้ว

Dynamo Player

Autodesk Revit 2017 นั้นมีการใส่ Dynamo เข้ามาแล้ว มาถึง Autodesk Revit 2017.1.1 ก็มีการเพิ่มเติม Dynamo Player เข้ามาอีก เพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น ด้วยการเรียก Folder ที่เก็บไฟล์ของ Dynamo ไว้ ก็จะทำให้ผู้ใช้เห็น List จากภายในรายการได้ ตลอดจน Run เพื่อใช้งานได้ในทันที รวมถึงการคลิกเพื่อเรียกไฟล์ Dynamo นั้นๆ ขึ้นมาแก้ไข…ใช้งานง่ายขึ้นสะดวกขึ้นเลยจากการเพิ่มเติมในส่วนนี้เข้ามา

 
 

Work in perspective view

ก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในทิศทางทางที่ดีขึ้นอีกเรื่องหนึ่งใน Autodesk Revit 2017.1.1 ก็คือในมุมมอง Perspective สามารถใช้คำสั่งในกลุ่ม Modify ได้หมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการ Move วัตถุในมุมมอง Perspective แทนที่จะเดิมแค่จะย้ายวัตถุก็ต้องไปที่มุม Plan หรือจะเป็นคำสั่ง Copy หรือคำสั่งอื่นๆ ที่สามารถทำได้…ซึ่งก็ทำให้การทำงานของมุมมอง Perspective นั้นมีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องสลับจอกลับไปกลับมาบ่อยๆ เหมือนเดิมแล้ว

Update Dynamo

Dynamo ใน Autodesk Revit 2017.1.1 จะมีการเพิ่ม Node ขึ้นมาอีกหลายตัวทีเดียว ทั้ง Materials, Room, Tags และ Text ซึ่งก็สามารถเพิ่มวัตถุประเภท Detail Elements ลงไปภายในโปรเจคผ่านทาง Dynamo ก็ รวมถึง List ที่เพิ่มความสามารถในการเลือกข้อมูลตามระดับชั้น (Level) ได้

 

Autodesk® Insight 360 integration

Autodesk Revit 2017.1.1 กับฟังก์ชั่น Insight 360 เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์พลังงาน ที่เดิมจะต้องติดตั้ง Plugin เพิ่มเติมเข้ามา คราวนี้มีมาพร้อมเลย ซึ่งก็จะอยู่ในกลุ่มคำสั่ง Energy Optimization ภายใต้แถบเครื่องมือ Analyze ซึ่งก็จะมีคำสั่ง Generate และ Optimize เพิ่มขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำการวิเคราะห์พลังงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

Stairs parameters tooltips

แม้จะเพิ่มมาแบบที่ไม่ค่อยมีเนื้อหาสักเท่าไหร่ แต่ก็ดีแน่ๆสำหรับผู้ใช้รายใหม่ กับ Autodesk Revit 2017.1.1 ที่เพิ่ม Tooltips มาในพารามิเตอร์ของบันได โดยเมื่อนำเมาส์ไปชี้ที่พารามิเตอร์ของบันได ก็จะปรากฏคำอธิบายพร้อมกับภาพประกอบขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจง่ายขึ้นว่าการตั้งค่าพารามิเตอร์แต่ละตัวของบันไดนั้นหมายถึงอะไร

Corruption data loss prevention

Autodesk Revit 2017.1.1 มีการพัฒนาในส่วนของการทำงานในระบบทีมงานหลายๆ คนไปพอสมควรทีเดียว โดยฟังก์ชั่นนี้เรียกว่า Repair Central Model โดยจะเป็นการป้องกันการเสียหายของข้อมูลจาก Central Model ซึ่งจะช่วยให้การกู้งานที่เสียหายกลับมาได้ในเวลาที่เร็วขึ้น ซึ่งเครื่องมือสำหรับการกู้ข้อมูลจาก Central Model นี้จะอยู่ที่แถบเครื่องมือ Collaborate โดยสามารถทำการซ่อมแซมและสร้างทั้งตัว Central Model ขึ้นมาใหม่ และก็สามารถทำการสร้าง Local Files ขึ้นมาใหม่จาก Central Model ที่ Repair ขึ้นมาได้อย่างมีรวดเร็ว

Collaboration for Revit sync progress notification

ใน Autodesk Revit 2017.1.1 เมื่อผู้ใช้มีการทำงานร่วมกันผ่านระบบ Cloud ด้วย Collaboration for Revit (C4R) ซึ่งเมื่อมีการ Sync ข้อมูลไปยัง Central บนระบบ Cloud คราวนี้จะมีไดอะล็อกบ็อกซ์ขึ้นมาแจ้งสถานะของการ Sync ให้เห็นว่าดำเนินการไปถึงไหนแล้ว หรืออาจจะดูจากหน้าต่าง Communicator ก็ได้ ซึ่งเดิมผู้ใช้อาจไม่ทราบว่ามีการ Sync ข้อมูลไปถึงไหนแล้ว และอาจคิดว่าโปรแกรมแฮงค์ไป

Revit for structural engineers 

Split columns & framing elements

Autodesk Revit 2017.1.1 คราวนี้คำสั่ง Split Element นั้น สามารถใช้ในการแบ่งเสาหรือคานของโครงสร้างได้แล้ว สะดวกขึ้นอีก อย่างในภาพเป็นการใช้คำสั่ง Split ในการแบ่งคานออกเป็นสองส่วน และทำการใส่ Front Plate Splice ที่เป็น Connection ลงไปที่รอยต่อหลังจากการแบ่งคานเป็นสองส่วนด้วยคำสั่ง Split Element

AISC code checking for steel connections

Autodesk Revit 2017.1.1 กับการพัฒนาในเรื่องของ Steel Connections ที่ได้นำเอามามาตรฐาน AISC Code Checking for steel connections 14th Edition เข้ามาแทนมาตรฐาน AISC 13th เดิม ซึ่ง Reports ที่แสดงออกมาก็จะง่ายสำหรับวิศวกรที่จะเข้าในผลการคำนวณที่โปรแกรมดำเนินการออกมา

Revit for MEP design & fabrication

Resize connected parts, Change service

MEP Fabrication ใน Autodesk Revit 2017.1.1 ที่ได้มีการพัฒนาวิธีการในการแก้ไขตัว MEP Fabrication Model ที่เป็นขั้นตอนหลังจากที่ผู้ใช้ได้ทำการเปลี่ยนโมเดลจาก MEP Model ไปสู่ MEP Fabrication แล้ว โดยในเวอร์ชั่นเดิม ผู้ใช้จะไม่สามารถแก้ไขค่าพารามิเตอร์ประเภทขนาดของโมเดล (Size) หรือแก้ระบบของตัวโมเดลนั้นๆ ได้ (Fabrication Service) เช่น มีการแก้จาก hydronic chilled water supply system ไปเป็น a return system เป็นต้น ซึ่งในเวอร์ชั่นนี้ สามารถปรับแก้ค่าได้แล้ว โดยสามารถทำการเลือกที่โมเดล MEP Fabrication และปรับแก้ไขค่าในส่วนของ Properties ได้เลย

Exclude FAB parts from Autofill tools

Autodesk Revit 2017.1.1 กับคำสั่ง Autofill tools ซึ่งปกติเวลาผู้ใช้ทำการเชื่อมชิ้นส่วนของวัตถุ MEP Fabrication เข้าด้วยกันด้วยคำสั่ง Autofill โปรแกรมก็จะเอาข้อต่อที่เกี่ยวข้องนั้นมาแสดงให้ผู้ใช้ทำการเลือก ซึ่งในหลายครั้งมันมีตัวเลือกที่ผู้ใช้ไม่ต้องการปรากฏขึ้นมาด้วยบ่อยๆ ดังนั้น คำสั่ง Autofill Exclusions Mode จึงมีไว้ให้ผู้ใช้ทำการเลือกชิ้นส่วนที่ผู้ใช้ไม่ต้องการให้คำสั่ง Autofill นั้นนำไปใช้

 

Add or modify dampers

งาน Duct ของ MEP fabrication ใน Autodesk Revit 2017.1.1 ได้มีการเพิ่มเติมเครื่องมือในการเพิ่ม Damper ขึ้นมาให้ผู้ใช้ใส่ลงไปภายในระบบ รวมถึงการลบและหมุนตัว Damper ที่ผู้ใช้ใส่เข้าไปได้ โดยตัวเลือกของประเภทของ Damper ผู้ใช้สามารถทำการเลือกได้จาก Drop-Down List

Hanger support rod enhancement

MEP Fabrication ใน Autodesk Revit 2017.1.1 มีการเพิ่มเติมความสามารถในการปรับค่าของ Hanger Support Rod ที่ผู้ใช้สามารถทำการเลือกขนาดของตัว Rod ได้จาก Drop Down List จากรายการได้อีกด้วย

Split fabrication elements

Autodesk Revit 2017.1.1 กับคำสั่ง Split Element ที่ตอนนี้สามารถทำการแบ่งวัตถุ MEP Fabrication ได้แล้ว หรือจะใช้ตัวเลือก Delete Inner Segment ในคำสั่ง Split ได้ด้วยเช่นกัน…สะดวกขึ้นอีกไม่น้อย

AWWA valves and pumps content

Autodesk Revit 2017.1.1 กับ Family ที่เพิ่มขึ้นมาของระบบ MEP โดยเป็นไปตามมาตรฐานของ AWWA ซึ่งก็จะมี Pumps 26 ชิ้น คลอบคลุม 10 ประเภท ซึ่งก็จะมี caking pump, dosing pumps, dry pit pump, effluent pump, dewatering pumps และยังจะม Valve อีก 23 ชิ้น คลอบคลุม 8 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย air valves, check valves, plug valves, butterfly valves, ball valves, control valves เป็นต้น

Space Naming tool integration

Autodesk Revit 2017.1.1 กับคำสั่ง Space Naming ซึ่งเดิมจะต้องติดตั้ง Add-in เพิ่มเติมเข้าไป แต่ในเวอร์ชั่นนี้ฟังก์มีติดมาพร้อมด้วยเลย…ดีจัง…(Add-in เดิมชื่อ Space Naming Utilities หรือ SNU)
คำสั่ง Space Naming นี้จะอยู่ที่แถบเครื่องมือ Analyze ในส่วนของ Spaces & Zones ซึ่งนี้มีไว้ใช้กับกรณีของการเขียนงานระบบ MEP ที่จำเป็นจะต้องใส่ Space ลงไปภายในห้อง ซึ่งการใช้งานคำสั่งจะมีลักษณะเดียวกันกับคำสั่ง Room ที่ใช้ในงานสถาปัตย์
โดยในกรณีงานสถาปัตย์ที่จะนำเข้ามาเขียนงานระบบ MEP นั้นได้มีการใส่ Room ไว้ในห้องอยู่แล้ว การใช้คำสั่งนี้ก็จะเป็นการให้โปรแกรมไปอ่านชื่อห้องและหมายเลขห้อง (Room Names and Numbers) ในไฟล์งานสถาปัตย์ และมาปรับปรุงชื่อของ Space ที่ให้ในงานระบบ MEP ที่ใส่ไว้ เพื่อทำให้ชื่อห้องและหมายเลขห้องของ Space นั้นตรงกับแบบสถาปัตย์ที่ได้ทำไว้

error: Content is protected !!